วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วินทร์ เลียววาริณ

ประวัติ
วินทร์ เลียววาริณ เกิดที่หาดใหญ่ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2499 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เมื่ออายุเจ็ดขวบ ที่โรงเรียนวิริยเธียรวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมเล็ก ๆ ครั้นแปดขวบก็ยังเรียนซ้ำชั้น ป.1 ด้วยครูประจำชั้นเห็นว่าจะทำให้ภูมิแน่นขึ้น! เรียนต่อประถมปีที่ 4 ที่โรงแรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก จึงมีโอกาสเรียนทั้งศาสนาพุทธและคริสต์ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ไปต่อม.ศ. 4 ที่กรุงเทพฯ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 3 และเป็นรุ่นแรกที่เรียน ณ ที่ตั้งของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปัจจุบัน
วินทร์ สนใจงานศิลปะตั้งแต่เล็ก จึงเลือกเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ จบปริญญาตรี สถ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ทันที ทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ร่วมสี่ปีก็เดินทางไปทำงานและเรียนต่อที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเขาเข้าเรียนในหลายมหาวิทยาลัยโดยไม่เอาปริญญา จบแล้วกลับเมืองไทยมาทำงานในวงการโฆษณา และต่อมาเรียนต่อจนได้รับปริญญาโทด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วินทร์ เริ่มชีวิตคนโฆษณาด้วยตำแหน่งผู้กำกับศิลป์ และเปิดฉากการเขียนหนังสือควบคู่ไปด้วย เรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์คือ ไฟ
ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสแล้วกับ ลิเลียน เลี้ยววาริณ ชาวสิงคโปร์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ตฤณ เลี้ยววาริณ เกิดเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2534
นอกจากนี้ วินทร์ ยังเขียนเรื่องสั้น และบทความ ลงนิตยสารด้วย เช่น ใน มติชนสุดสัปดาห์ และยังมีผลงานเขียน ร่วมกับนักเขียนรุ่นใหม่อย่าง ปราบดา หยุ่น ในชื่อชุด ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (ดัดแปลงจากชื่อหนังสือที่ได้รับความนิยมของทั้งคู่ คือ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของวินทร์ และ ความน่าจะเป็น ของปราบดา) โดยเขียนลงเป็นตอนๆ ลงในนิตยสาร open ในลักษณะการโต้ตอบอีเมลกัน และได้รวมเล่มเป็นหนังสือแล้วเจ็ดเล่ม

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แรคำ ประโดยคำ ผู้แต่งเรื่องในเวลา




ประวัตินักเขียน ชื่อ : แรคำ ประโดยคำ
ประวัติย่อย :แรคำ ประโดยคำ เป็นนามปากกาของ สุพรรณ ทองคล้อย เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2496 จังหวัดจันทบุรี ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต (ภาษาไทย) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต (วรรณคดี) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันรับราชการตำแหน่ง รศ.ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และในปลายปี 2538 เดินทางไปสอนภาษาไทยให้กับนักศึกษาเยอรมัน ในภาควิชา ภาษาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัย Passau รัฐบาวาเรีย
ผลงานรวมเล่ม
  1. แรคำ (2528) รางวัลกวีนิพนธ์ดีเด่น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
  2. ลานชเล (2533) รางวัลชมเชยกวีนิพนธ์ 2534 จากคณะกรรมพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
  3. ดิน น้ำ ลม ไฟ (2535) เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์
  4. น้ำพุรุ้ง (2538)
  5. อุตระ (2540) นิยายเรื่องแรก
  6. ในเวลา (2541) รางวัลซีไรต์
  7. ไฟต่อฝัน (2542) ความเรียง

ปัจจุบัน : รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วินทร์ เลียววาริณ ผู้แต่งเรื่องประชาธิปไตยบนเส้นขนาน



ประวัติ
วินทร์ เลียววาริณ เกิดที่หาดใหญ่ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2499 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เมื่ออายุเจ็ดขวบ ที่โรงเรียนวิริยเธียรวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมเล็ก ๆ ครั้นแปดขวบก็ยังเรียนซ้ำชั้น ป.1 ด้วยครูประจำชั้นเห็นว่าจะทำให้ภูมิแน่นขึ้น! เรียนต่อประถมปีที่ 4 ที่โรงแรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก จึงมีโอกาสเรียนทั้งศาสนาพุทธและคริสต์ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ไปต่อม.ศ. 4 ที่กรุงเทพฯ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 3 และเป็นรุ่นแรกที่เรียน ณ ที่ตั้งของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปัจจุบัน
วินทร์ สนใจงานศิลปะตั้งแต่เล็ก จึงเลือกเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ จบปริญญาตรี สถ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ทันที ทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ร่วมสี่ปีก็เดินทางไปทำงานและเรียนต่อที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเขาเข้าเรียนในหลายมหาวิทยาลัยโดยไม่เอาปริญญา จบแล้วกลับเมืองไทยมาทำงานในวงการโฆษณา และต่อมาเรียนต่อจนได้รับปริญญาโทด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วินทร์ เริ่มชีวิตคนโฆษณาด้วยตำแหน่งผู้กำกับศิลป์ และเปิดฉากการเขียนหนังสือควบคู่ไปด้วย เรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์คือ ไฟ
ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสแล้วกับ ลิเลียน เลี้ยววาริณ ชาวสิงคโปร์ มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ ตฤณ เลี้ยววาริณ เกิดเมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2534
นอกจากนี้ วินทร์ ยังเขียนเรื่องสั้น และบทความ ลงนิตยสารด้วย เช่น ใน มติชนสุดสัปดาห์ และยังมีผลงานเขียน ร่วมกับนักเขียนรุ่นใหม่อย่าง ปราบดา หยุ่น ในชื่อชุด ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (ดัดแปลงจากชื่อหนังสือที่ได้รับความนิยมของทั้งคู่ คือ ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ของวินทร์ และ ความน่าจะเป็น ของปราบดา) โดยเขียนลงเป็นตอนๆ ลงในนิตยสาร open ในลักษณะการโต้ตอบอีเมลกัน และได้รวมเล่มเป็นหนังสือแล้วเจ็ดเล่ม

ผลงาน
หนังสือ
1.             สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537)
2.             อาเพศกำสรวล (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2537)
วินทร์ เลียววาริณ ในบุคลิกอันเรียบง่าย
3.             ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (นวนิยาย) (พ.ศ. 2537)
4.             เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2538)
5.             สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (รวมเรื่องสั้นและบทความ) (พ.ศ. 2542)
6.             空劫の大河 タイ民主革命奇綺談 (ภาคภาษาญี่ปุ่นของหนังสือ"ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน") (พ.ศ. 2542)
7.             หนึ่งวันเดียวกัน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2544)
8.             หลังอานบุรี (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2544)
9.             ปีกแดง (นวนิยาย) (พ.ศ. 2545)
10.      インモラル・アンリアル ISBN 4763123238 (รวมเรื่องสั้นภาคภาษาญี่ปุ่น) (พ.ศ. 2545)
11.      ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน (จดหมาย) (พ.ศ. 2545) (เขียนร่วมกับ ปราบดา หยุ่น)
12.      ปั้นน้ำเป็นตัว (รวมเรื่องสั้นและบทความ) (พ.ศ. 2546)
13.      (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2546)
14.      Democracy, Shaken & Stirred (ภาคภาษาอังกฤษของหนังสือ"ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน") (พ.ศ 2546)
15.      วันแรกของวันที่เหลือ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547# ฆาตกรรมกลางทะเล (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547)
16.      คดีผีนางตะเคียน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2547)
17.      นิยายข้างจอ (พ.ศ. 2548)
19.      จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2548)
20.      รอยเท้าเล็กๆของเราเอง(หนังสือเสริมกำลังใจ) (พ.ศ. 2548)
21.      โลกด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์ (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2549))
วินทร์ เลียววาริณ ขณะเซ็นหนังสือให้แฟนนักอ่าน
23.      ยาแก้สมองผูก ตราควายบิน (คู่มือการเขียนหนังสือแบบสังเคราะห์เรื่อง) (พ.ศ. 2550)
24.      ฝนตกขึ้นฟ้า (นวนิยายฟิล์ม นัวร์ ) (พ.ศ. 2550)
25.      โลกใบที่สองของโม (นวนิยายภาพรีไซเคิลเรื่องแรกของโลก) (พ.ศ. 2549)
26.      ความฝันโง่ ๆ (หนังสือรวบบทความเสริมกำลังใจ ชุดที่ 2) (พ.ศ. 2549)
27.      a day in a life (2005) (หนึ่งวันเดียวกัน ฉบับภาษาอังกฤษ)
28.      เบื้องบนยังมีแสงดาว (หนังสือเสริมกำลังใจ ชุดที่ 3) (พ.ศ. 2550)
29.      น้ำแข็งยูนิต ตราควายบิน (เป็นหนังสือในลักษณะเดียวกับ ยาแก้สมองผูก ตราควายบิน) (พ.ศ. 2550)
30.      เดินไปให้สุดฝัน (พ.ศ. 2551)
31.      บุหงาปารี (พ.ศ. 2551) (ถูกนำไปสรางเป็นบทภาพยนตร์ ปืนใหญ่จอมสลัด)
32.      บุหงาตานี (พ.ศ. 2552) (ภาคต่อของ "บุหงาปารี")
33.      เส้นรอบวงของหนึ่งวัน (รวมเรื่องสั้น) (พ.ศ. 2552)
34.      ยามดึกนึกหนาวหนาว เขนยแนบ แอบเอย (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์) (พ.ศ. 2552)
35.      มังกรเซน (หนังสือศาสนาพุทธนิกายเซน) (พ.ศ. 2552)
36.      วินทร์ เลียววาริณ คุยกับหนอน (หนังสือรวมจดหมายอิเล็กทรอนิกส์) (พ.ศ. 2552)
เขียนร่วมกับ ปราบดา หยุ่น
1.             ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 1 (จดหมาย 2545)
2.             ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 2 (จดหมาย 2547)
3.             ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 3 (จดหมาย 2548)
4.             ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 4 (จดหมาย 2549)
5.             ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 5 (จดหมาย 2550)
6.             ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 6 (จดหมาย 2551)
7.             ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน 7 (จดหมาย 2552)

กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ผู้แต่งเรื่องแผ่นดินอื่น


กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ (9 ก.พ. พ.ศ. 2509 ที่อ.ควนขนุน จ.พัทลุง13 ก.พ. พ.ศ. 2549) เป็นนักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2539 จากหนังสือรวมเรื่องสั้น แผ่นดินอื่น[1] เป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มนาคร เคยเป็นบรรณาธิการหนังสือไรเตอร์ แมกกาซีน ได้รับรางวัลช่อการะเกดสองครั้ง จากเรื่องสั้น สะพานขาด และเรื่องสั้น โลกใบเล็กของซัลมาน
ผลงาน

ไพวรินทร์ ขาวงาม ผู้แต่งเรื่องม้าก้านกล้วย














ประวัตินักเขียน ชื่อ : ไพวรินทร์ ขาวงาม
ไพวรินทร์ ขาวงาม เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504   นักเขียนบทกวี และบรรณาธิการ เกิดในครอบครัวชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด จบชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนบ้านตาหยวก และบวชเรียนต่อจนจบมัธยมปลาย ที่มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตของมหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย พระนครศรีอยุธยา อยู่ช่วยฝึกสอนวิชาภาษาไทยและวรรณคดี เพื่อตอบแทนคุณสถาบันระยะหนึ่งจึงลาสิกขาบท
จากนั้นมุ่งสู่เชียงใหม่ เป็นพนักงานพิสูจน์อักษร หนังสือพิมพ์ประชากรรายวัน ก่อนเลื่อนฐานะขึ้นเป็นนักข่าว สั่งสมประสบการณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเล็กๆหลายฉบับ จวบปี 2527 ตัดสินใจเข้ากรุง ทำงานฝ่ายศิลป์นิตยสารสปีดเวย์ ต่อสู้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะทำรูปเคลือบพลาสติกวางขายข้างถนน พนักงานขายไอศกรีม ปี 2528 ช่วยงานนิตยสารสู่ฝัน ปี 2531 ประจำกองบรรณาธิการวารสารปาจารยสาร ต่อมาเป็นบรรณาธิการเฉพาะกิจสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ประจำกองบรรณาธิการหนังสือดีเขต เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการชีวิตต้องสู้ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์อิสระ

นามปากกา
                ไพวรินทร์ ขาวงาม

งานเขียนครั้งแรก
                ลำนำวเนจร (2528) รวมบทกวี

ผลงานรวมเล่ม
          ลำนำวเนจร (2528) รวมบทกวี
คำใดจะเอ่ยได้ดั่งใจ (2529) รวมบทกวี
ไม่ใช่บทกวีจากชายป่าอารยธรรม (2530) รวมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์
ฤดีกาล (2532) รวมบทกวี
คือแรงใจและไฟฝัน (2534) รวมบทกวี
ถนนนักฝัน (2535) รวมบทกวีประกอบภาพ
ม้าก้านกล้วย (2538) รวมบทกวี
เจ้านกกวี (2540) รวมบทกวี
ทอดยอด (2542) รวมบทความและเรื่องสั้น
เพราะภาพพูดได้ หัวใจจึงขอฟัง (2544)
ผมจรรอนแรมจากลุ่มแม่น้ำมูล (2545)
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีรัก (2545)
ดวงใจจึงจำนรรจ์ (2547)
จิบใจ จอกจ้อย (2547)
กลอนกล่อมโลก (2547)

เกียรติยศที่ได้รับ
ได้รับรางวัลบุ๊คแอนด์เบียร์ ประจำปี 2532 กวีนิพนธ์ ชุด คือแรงใจและไฟฝัน
ได้รับรางวัลบทกวีนิพนธ์รางวัลดีเด่น ประจำปีพุทธศักราช 2535 จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
กวีนิพนธ์ชุด ม้าก้านกล้วยได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรท์) ประจำปีพุทธศักราช 2538
เป็นศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2551

ปัจจุบัน
          ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์อิสระ