วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วาณิช จรุงกิจอนันต์ ผู้แต่งเรื่องซอยเดียวกัน




ประวัติย่อ  วาณิช จรุงกิจอนันต์  ผู้แต่งวรรณกรรมซีไรต์เรื่องซอยเดียวกัน ปีพ.ศ.2527
                 วาณิช จรุงกิจอนันต์ เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน บิดาทำงานโรงสีข้าว มารดาทำขนมขาย
การศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบหลักสูตรประโยคประถมการช่างจากโรงเรียนช่างศิลป์ กรมศิลปกร กรุงเทพฯ  จบหลักสูตรปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และการพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปกร (ศิลปบัณฑิตสาขาภาพพิมพ์) จบหลักสูตรปริญญาโท จากคณะศิลปะมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองลองบีช ประเทศสหรัฐอเมริกา (ศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาพพิมพ์)
ประวัติงาน เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ไปสมัครงานทำงานหนังสือที่ "สตรีสาร" อาจารย์นิลวรรณ ปิ่นทอง รับไว้ให้ช่วยงานตอนเย็นๆ กลางวันไปทำงานที่ฝ่ายศิลป์ที่หนังสือพิมพ์ "ประชาธิปไตย" รายวัน ทำงานฝ่ายศิลป์ หน่วยออกแบบธนาคารกสิกรไทย จนกระทั้งเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นปี 2518 กลับจากสหรัฐอเมริกา ไปทำงานนอกเวลาที่นิตยสาร "สรีสาร" เหมือนเดิมพร้อมกับทำงานที่บริษัทพรีเมียร์ พับลิบลิชชิ่ง ทำงานวารสารบ้านของการเคหะแห่งชาติและทำงานอื่นอีกหลายแห่ง รวมทั้งเป็นนักเขียนอิสระไปด้วยจนในที่สุดเข้าไปทำงานประจำแผนกละคร บริษัทแกรมมี่เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด และเป็นนักเขียนประจำให้แก่บริษัท มติชน จำกัด
                ในส่วนที่เกี่ยวกับงานประพันธ์ วาณิช จรุงกิจอนันต์ หัดแต่งกลอนตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษา มีผลงานกลอนตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร     "แม่บ้านการเรียน" ปี 2507 และสนใจการเขียนกลอนเรื่อยมา      เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย เคยเป็นนักกลอนทีมศิลปากรชนะเลิศแข่งขันโต้กลอนสดระดับอุดมศึกษา ปี 2515 และมีเรื่องสั้น 3-5 เรื่อง ได้พิมพ์ในหนังสือวรรณศิลป์ หนังสือรับน้องของมหาวิทยาลัยศิลปกร และหนังสือรับน้องของโรงเรียนช่างศิลป์ ส่วนผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้ลงพิมพ์ในนิตยสารทั่วไปชื่อ "ในคืนแห่งความเซ็ง" ในนิตยสาร "ลลนา" รายปักษ์ เมื่อ พ.ศ. 2515 และเริ่มเขียนคอลัมน์ประจำเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่งหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติรายวัน" เมื่อ พ.ศ. 2517 แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือ งานเขียนชุด "จดหมายถึงเพื่อน" ซึ่งเขียนเล่าเรื่องระหว่างไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา โดยเสนอในรูปแบบจดหมายที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน แล้วส่งจากสหรัฐอเมริกามาลงในนิตยสาร "ลลนา" ตั้งแต่ปี 2518 รวมจดหมายทั้งหมดได้ 20 ฉบับ เมื่อกลับจากสหรัฐอเมริกาจึงยึดการประพันธ์เป็นอาชีพจริงจังขึ้น มีผลงานหลายรูปแบบทั่งเรื่องสั้น นวนิยาย ร้อยกลอง บทความ สารคดี บทละครโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ และงานเขียนเบ็ดเตล็ดที่โดดเด่นในการใช้สำนวนกวนอารมณ์ขันอีกมากซึ่งนอกจากจะปรากฎอยู่ในนิตยสารและหนังสือพิมพ์หลายฉบับแล้ว ยังมีผลงานรวมพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่อยู่เสมอหลายเรื่องได้รับรางวัลจากองค์กรต่างๆ
 นามปากกา
                สุริยฉาย (ตอบปัญหาชีวิตใน "ลลนา" )และใช้นามจริงเป็นส่วนมาก

คมทวน คันธนู ผู้แต่งเรื่องนาฏกรรมบนลานกว้าง







ประวัติย่อ คมทวน คันธนู  ผู้แต่งวรรณกรรมซีไรต์เรื่องนาฏกรรมบนลานกว้าง ปี2526
                คมทวน คันธนูเป็นกวี นักเขียนเรื่องสั้น บทความและนวนิยาย ชื่อจริง ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร เกิดเมื่อ พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพฯ
               เขาเริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนดรุณวัฒนา เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนชิโนรส    และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้เวลาเรียนในมหาวิทยาลัยถึง 6 ปีครึ่ง
              เขาเริ่มหัดเขียนกลอนเมื่ออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนได้รับเลือกเป็นประธานชมรมภาษาไทย ชอบเขียนกลอนหวานๆสัมผัสแพรวพราว ยิ่งเมื่ออยู่ในมหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือพิมพ์และสนใจเรื่องการเมืองก็ยิ่งทำงานเขียนมากขึ้นทั้ง บทกวี กลอนเปล่า เรื่องสั้น และบทละคร ผลงานรวมเรื่องสั้นและบทกวีเล่มแรกชื่อ กบฎ ใช้นามปากกาว่า โกสุม พิสัย ซึ่งมีที่มาจากเพื่อนสนิทคนหนึ่งเมื่อครั้งที่เรียนด้วยกันที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมาจากอำเภอ โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ส่วนนามปากกา คมทวน คันธนู ใช้เป็นครั้งแรกในการเขียนกลอนเปล่าลงหนังสือวรรณศิลป์ ธรรมศาสตร์ ( ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 ) นามปากกานี้ตั้งขึ้นจากความฝังใจในบทบาทของลิโป้ ในสามก๊ก ที่เป็นคนไม่ค่อยฉลาด แต่กล้าหาญและซื้อสัตย์ ยิงเกาฑัณฑ์แม่นและเก่งในการใช้ทวน
               เมื่อ พ.ศ.2514 ทำงานเป็นนักข่าวให้หนังสือพิมพ์ปุถุชน และ ประชาธิบไตย เมื่อ พ.ศ.2516 ต่อมาทำ หนังสือพิมพ์ มติชน โลกใหม่ มีผลงานรวมเล่มครั้งแรกคือ กบฎ วรรณกรรมซาดิสต์ โดยใช้นามปากว่า โกสุม พิสัย
               ต่อมาเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2516 บทกวีของเขาในนาม คมทวน คันธนู จึงแพร่หลายไปในรั้วมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่ตกงานเขาก็ยังไปทำหนังสือ สมุดไทย โดยไม่มีเงินเดือน ซึ่งทำให้เขาได้เรียนรู้เรื่องวรรณคดีเก่าๆมากขึ้น ต่อมาจึงกลับไปทำที่มติชน มาตุภูมิ และ เศรษฐกิจการเมือง จนหนังสือ นาฏกรรมบนลานกว้างของเขาได้รับรางวัลซีไรต์โดยเขาได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถแต่งคำประพันธ์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งฉันท์ เพลงพื้นบ้านมาประยุกต์ได้อย่างกลมกลืน
 นามปากกา
                โกสุม พิสัย , คมทวน คันธนู

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชาติ กอบจิตติ ผู้แต่งเรื่องคำพิพากษาและเวลา



ประวัติย่อ  ชาติ กอบจิตติ ผู้แต่งวรรณกรรมซีไรต์ เรื่องคำพิพากษาและเวลา ปี2525และ2537
ชาติ กอบจิตติ เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2497 ที่บ้านริมคลองหมาหอน ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวนพี่น้องผู้หญิง 5 คน และผู้ชาย 4 คน รวมเก้าคน ชื่อเดิมคือสุชาติ แต่เขาเห็นว่าคนใช้ชื่อนี้กันมาก จึงเปลี่ยนมาเป็น "ชาติ" พ่อของเขาเป็นพ่อค้าขายเกลือเม็ด ส่วนแม่ขายของเล็กๆน้อยๆ ต่อมาพ่อก็ไปค้าทราย และขายของชำ
         เขาเริ่มเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดใหญ่ บ้านปอ แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเอกชัยในจังหวัดเดียวกัน เพราะไปอยู่กับยายชั่วคราว เมื่อพ่อไปค้าทรายที่ราชบุรี เขามาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนปทุมคงคาเมื่อ พ.ศ.2509 โดยอาศัยอยู่กับพระซึ่งเป็นเพื่อนของอาที่วัดตะพาน หรือวัดทัศนารุณ มักกะสัน พอเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปี่สามแล้วก็เรียนต่อเพาะช่าง ในสาขาภาพพิมพ์
           เนื่องจากเป็นคนชอบวาดรูป ชอบเขียนหนังสือ ฝันใฝ่ที่จะเป็นนักประพันธ์ เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ เรื่อง "นักเรียนนักเลง" เขียนลงในหนังสืออนุสรณ์ปทุมคงคา 2512    ได้มีโอกาสเขียนบทละครแสดงที่เพาะช่างมากกว่าสิบเรื่องบางเรื่องได้แสดงเองด้วย  ตอนที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 เคยสมัครไปทำงานเปิดบาร์อะโกโก้  ที่ถนนพัฒน์พงษ์  เพื่อหางานเรียน พ.ศ. 2515 ช่วงเรียนชั้นปีที่  3  ศิริพงษ์  อยู่ชวนไปทำอาร์ตเวิร์คหนังสือ  เสนาสาร  ยุคดารา  อยู่ระยะหนึ่งและได้เขียนวิจารณ์โทรทัศน์
            เขาแต่งงานเมื่อ พ.ศ.2520 กับเพื่อนสาวที่เรียนจบเพาะช่างมาด้วยกัน ชื่อ รุจิรา เตชะศีลพิทักษ์ ซึ่งรับราชการอยู่กองโบราณคดี  แผนกซ่อมจิตรกรรมฝาผนัง  กรมศิลปากร  แล้วลาออก  ซึ่งต่อมาได้ช่วยกันทำกระเป๋าไปฝากขายตามห้าง ซึ่งมีรายได้ดี เคยได้รวมงานกับรุ่นน้องที่เพาะช่างทำสำนักพิมพ์ สายธาร  พิมพ์หนังสือออกมาหลายเล่ม วันหนึ่งได้นำเรื่องสั้นชื่อว่า ผู้แพ้ มาให้เรืองเดช อ่านซึ่งตอนนั้นเรืองเดชได้รวมงานกันอยู่  เรืองเดชได้อ่านแล้วเห็นว่าเรื่องนี้ดีเลยส่งไปให้สุชาติสวัสดิ์ศรีที่กำลังทำ  โลกหนังสือ  อยู่ในขณะนั้นพิจารณา  ปรากฏว่าเรื่องสั้น ของชาติ  กอบจิตติ  ได้ลงพิมพ์ในโลกหนังสือฉบับเรื่องสั้นชุด  คลื่นหัวเดิ่ง เมื่อพ.ศ.2522  และเป็นหนึ่งในสองเรื่องที่ได้รับรางวัล  ช่อการะเกด  ของสุชาติ  สวัสดิ์ศรี ซึ่งถือกันว่าเป็นรางวัลที่ได้มาตรฐานมากที่สุดรางวัลหนึ่งและเรื่องเดี่ยวกันนี้  ยังได้รางวัลชมเชยจากการคัดเลือกเรื่องสั้นดีเด่นประจำปี  2522 ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
            ระหว่างพ.ศ. 2532 2535 ได้เดินทางไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย  ได้มีผลงานออกมาจากการเขียนเรื่องสั้นบันทึกชีวิตที่นั้นบางเรื่อง จนพ.ศ. 2536  ก็จัดพิมพ์นวนิยายเรื่อง  เวลา  โดยสำนักพิมพ์  หอน  ของตัวเอง  ปรากฏว่าได้รับรางวัลซีไรต์  ประจำปี  2537  นับเป็นนักเขียนคนแรกที่ได้รับรางวัลซีไรต์ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 และเรื่องเดียวกันนี้ได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติและกระทรวงศึกษาธิการประจำปี 2537
            ปัจจุบัน เขาทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน จึงใช้ชีวิตอยู่เงียบๆที่ไร่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาเขาทำงานด้านการเขียนเพียงอย่างเดียว นอกจากเรื่องสั้นและนวนิยายแล้ว  ในระยะหลังยังเขียนบทความและบทภาพยนตร์เพิ่มขึ้น 

อัศศิริ ธรรมโชติ ผู้แต่งเรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง



ประวัติย่อ  อัศศิริ   ธรรมโชติ  ผู้แต่งวรรณกรรมซีไรต์ เรื่องขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง ปี 2524         อัศศิริ   ธรรมโชติ   นักเขียนเรื่องสั้น เจ้าของรางวัลซีไรต์ปี พ.ศ. 2524 เกิดเมื่อวันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จบชั้นมัธยมปีที่ 4 จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา กรุงเทพมหานคร   หลังจากเป็นลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 2 ปี    จึงกลับมาสอบเข้าศึกษาต่อที่คณะนิเทศศาสตร์     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    เมื่อปี 2513 เมื่อสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแล้ว ได้เริ่มทำงานกับผู้ผลิตหนังสือ "ประชากร" ระยะหนึ่ง ก่อนจะโยกย้ายไปประจำ "ประชาชาติ" , "สยามรัฐรายวัน" , "สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์" , "มาตุภูมิ" , "สู่อนาคต" และหวนคืนสู่ "สยามรัฐ" จวบจนปัจจุบัน
                เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่เป็นนิสิต    โดยเฉพาะ  "สำนึกของพ่อเฒ่า"     เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกในชีวิต ได้รับการคัดเลือกให้ได้อันดับสามจากการประกวดชิงรางวัล "พลับพลามาลี" เมื่อปี 2515 ของชุมนุมวรรณศิลป์จุฬาฯ      จากนั้นอีกราวหกปี คือ พ.ศ. 2521       มีหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มแรกชื่อปก      "ขุนทอง      เจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง" หนังสือเล่มนี้ทำให้อัศศิริได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2524

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ผู้แต่งเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว

ประวัติย่อ  เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์   ผู้แต่งวรรณกรรมซีไรต์ เรื่องเพียงความเคลื่อนไหว ปี2523
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอพนมทวน  จังหวัดกาญจนบุรี  เป็นบุตรคนโต  และผู้ชายคนเดียวในจำนวนที่น้องทั้งหมด 5 คน ของนายฮกหรือสมบัติและนางสมใจ (เก้าวงศ์วาร) พงษ์ไพบูลย์ บิดาเป็นหลงจู๊ โรงฝิ่น แต่ภายหลังบิดากับมารดาหย่าร้างกัน
ศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านทวน และจบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนวิสุทธรังสี จังหวัดกาญจนบุรี  เรียนมัธยมปีที่ 7 ที่โรงเรียนพิชัยญาติ กรุงเทพฯ แล้วย้ายไปเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 8 ที่ โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อศึกษาจบก็ได้กลับไปบวชที่วัดทุ่งสมอ จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างจำพรรษาได้ถือธุดงค์ไปศึกษาธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุ ณ สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี  และปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์จากสหวิทยาลัยทราวดี (วิทยาลัยครูกาญจนบุรี) ปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาและวรรณคดี) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาไทย) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์  เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง ผลงานมีทั้ง ร้อยกรอง และร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชุมนุมวรรณศิลป์มาก่อน

คำพูน บุญทวี ผู้แต่งเรื่องลูกอีสาน

                         ประวัติย่อ   คำพูน บุญทวี  ผู้แต่งวรรณกรรมซีไรต์ เรื่องลูกอีสาน ปีพ.ศ.2522
                คำพูน (หรือชื่อเดิมว่านายคูน) บุญทวี เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๑
ที่บ้านทรายมูล  ตำบลทรายมูล  กิ่งอำเภอทรายมูล  จังหวัดยโสธร  บิดาเป็นครู
ประชาบาล ชื่อนายสนิท บุญทวี มารดาชื่อนางลุน บุญทวี เป็นบุตรคนโตใน
จำนวนพี่น้องทั้งหมด ๗ คน  สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔  ที่โรงเรียนในบ้านเกิด
และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนสายปรีชาบัณฑิต จังหวัดยโสธร
คำพูนเริ่มเขียนหนังสือเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓  เรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขาส่งไปยัง
นิตยสารฟ้าเมืองไทย คือเรื่อง รักในเหวลึก  แต่อาจินต์ ปัญจพรรค์ เปลี่ยนชื่อให้ใหม่
เป็นนิทานลูกทุ่ง จนถึงปีพ.ศ.๒๕๑๖  เขาเขียนเรื่องสั้นได้ประมาณ ๑๐ เรื่องและยัง
มีเรื่องสั้นขนาดยาวอีก ๓ เรื่อง  ในช่วงนี้เอง  อาจินต์ ปัญจพรรค์  แนะนำให้คำพูน
อ่านหนังสือแปลเรื่อง บ้านเล็กในป่าใหญ่  (ของ ลอร่า อิงเกิลไวล์เดอร์) จึงทำให้เขา
เกิดแรงบันดาลใจ  เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนชนบทในอีสาน
เขาจึงลงมือเขียน หลังจากนั้นมา  คำพูนได้ผลิตผลงาน เขียนออกมาเรื่อยๆ  โดย
เฉพาะเรื่องสั้น  และนวนิยาย เช่น  เลือดอีสานคำให้การของคนคุกหอมกลิ่นปลาร้า,
ชุดนักเลงลูกทุ่ง เป็นต้น  ปัจจุบันคำพูนเขียนหนังสือเป็นอาชีพ
คำพูน บุญทวี เคยเป็นอดีดผู้ประกอบอาชีพหลากหลาย ตั้งแต่ระดับที่มีสถานะในสังคมคือเป็นข้าราชการในตำแหน่งครู และผู้คุม จนกระทั่งถึงอาชีพคนถีบสามล้อ
งานเขียนเขาเริ่มขึ้น เมื่อเขาลาออกจากราชการมุ่งประกอบอาชีพนักเขียนเต็มตัวเมื่ออายุ 44  หลังจากเขียนหนังสือได้เพียง 4 ปี เขาก็ประสบความสำเร็จงดงาม  ทำให้อาชีพนักเขียนของ คำพูน บุญทวี รุ่งโรจน์อย่างเห็นได้ชัดในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี
งานของคำพูน บุญทวี เป็นงานประเภท สีสันท้องถิ่น (Local Color) ที่สะท้อนให้เห็นถึงสาระชีวิตของคนอีสาน การกิน การอยู่ ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย  ซึ่งได้มีผู้ศึกษาวิเคราะห์ไว้แล้ว รวมตลอดทั้งเรื่องสีสัน ของเรื่องและ บรรยกาศชีวิตคนอีสานด้วย

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายชื่อวรรณกรรมซีไรต์

ครั้งที่
ปี
ชื่อหนังสือ
ชื่อผู้แต่ง
ประเภท
1
2522
ลูกอีสานคำพูน บุญทวีกวีนิพนธ์
2
2523
เพียงความเคลื่อนไหวเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์กวีนิพนธ์
3
2524
ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสางอัศศิริ ธรรมโชติเรื่องสั้น
4
2525
คำพิพากษาชาติ กอบจิตตินิยาย
5
2526
นาฏกรรมบนลานกว้างคมทวน คันธนูกวีนิพนธ์
6
2527
ซอยเดียวกันวานิช จรุงกิจอนันต์เรื่องสั้น
7
2528
ปูนปิดทองกฤษณา อโศกสินนิยาย
8
2529
ปณิธานกวีอังคาร กัลยาณพงศ์กวีนิพนธ์
9
2530
ก่อกองทรายไพฑูรย์ ธัญญาเรื่องสั้น
10
2531
ตลิ่งสูง ซุงหนักนิคม รายยาวานิยาย
11
2532
ใบไม้ที่หายไปจิรนันท์ พิตรปรีชากวีนิพนธ์
12
2533
อัญมณีแห่งชีวิตอัญชันเรื่องสั้น
13
2534
เจ้าจันทร์ผมหอมมาลา คำจันทร์นิยาย
14
2535
มือนั้นสีขาวศักดิ์ศิริ มีสมสืบกวีนิพนธ์
15
2536
ครอบครัวกลางถนนศิลา โคมฉายเรื่องสั้น
16
2537
เวลาชาติ กอบจิตตินิยาย
17
2538
ม้าก้านกล้วยไพวรินทร์ ขาวงามกวีนิพนธ์
18
2539
แผ่นดินอื่นกนกพงศ์ สงสมพันธ์เรื่องสั้น
19
2540
ประชาธิปไตยบนเส้นขนานวินทร์ เลียววารินทร์นิยาย
20
2541
ในเวลาแรคำ ประโดยคำกวีนิพนธ์
21
2542
สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนวินทร์ เลียววารินทร์เรื่องสั้น
22
2543
อมตะวิมล ไทรนิ่มนวลนิยาย
23
2544
บ้านเก่าโชคชัย บัณฑิตกวีนิพนธ์
24
2545
ความน่าจะเป็นปราบดา หยุ่นเรื่องสั้น
25
2546
ช่างสำราญเดือนวาด พิมวนานิยาย
26
2547
แม่น้ำรำลึกเรวัตร์ พันธ์พิพัฒน์ กวีนิพนธ์
27
2548
เจ้าหงิญบินหลา สันกลาคิรี เรื่องสั้น
28
2549
ความสุขของกะทิงามพรรณ เวชชาชีวะ นวนิยาย
29
2550
โลกในดวงตาข้าพเจ้ามนตรี ศรียงค์ บทกวี
30
2551
เราหลงลืมอะไรบางอย่างวัชระ สัจจะสารสิน รวมเรื่องสั้น
31
2552
ลับแล แก่งคอย อุทิศ เหมะมูล นวนิยาย

ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง (2524)

ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง (2524)

                     ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น ของ อัศศิริ ธรรมโชติ
โดยหนังสือเล่มดังกล่าวรวมเรื่องสั้นทั้งหมด 13 เรื่องของผู้เขียนคนเดียวกัน รวมเล่มตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2521 หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี พ.ศ. 2524
เรื่องสั้น "ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง" ได้รับแรงกระตุ้นจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 คือช่วงที่มีการประกาศเรียกร้องให้ผู้ที่หลบหนีเข้าป่ากลับมารายงานตัว เน้นให้คนสำนึกในเรื่องของภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และสังคม เนื้อหาส่วนใหญ่มีแนวทางไปในทางวรรณกรรมเพื่อชีวิต ความกดดันและความขัดแย้งทางการเมือง ผู้แต่งสามารถตีปัญหาสังคมได้อย่างลึกซึ้ง สามารถสร้างตัวละครอันมีมิติเหมือนคนจริง ๆ ที่มีเลือดเนื้อให้จับต้องได้ มีความเศร้าที่อ่อนโยน สามารถสกัดกั้นอารมณ์ ลักษณะการเขียน ผู้เขียนพยายามให้รายละเอียดในการพรรณา เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่รุนแรง แต่เขาก็มีทางแก้ด้วยการสร้างอารมณ์ชดเชย ซึ่งเป็นการเขียนที่มีคุณค่ายิ่ง
เรื่องสั้นเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2520

ลูกอีสาน (2522)

    
ลูกอีสาน (2522)

            ลูกอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราว จากประสบการณ์ ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปนิยาย โดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ลง ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปีพ.ศ.2518-2519 ลูกอีสาน ใช้วิธีการเล่าเรื่องราว โดยผ่านเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ ในถิ่นชนบท ของอีสาน แถบที่จัดได้ว่า เป็นถิ่นที่แห้งแล้ง แห่งหนึ่งของไทย ผู้เขียนได้เล่าถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจน ความเชื่อของชาวอีสาน รวมไปถึง การบรรยาย ถึงสภาพความเป็นไป ตามธรรมชาติ ของผู้คน และสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกัน ของทิดจุ่น และพี่คำกอง จนท้ายที่สุด ก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลา ที่ลำน้ำชี เพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอม เอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จากการทำบุญ ตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก ลูกอีสาน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว จากประสบการณ์ ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของชาวอีสานว่า ต้องเผชิญ กับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ ที่จะอดทน เพื่อเอาชนะ กับความยากแค้น ตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารี ที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพ ในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ ปรากฏอยู่ในแต่ละตอน ของลูกอีสาน รวมทั้ง การแทรกอารมณ์ขัน ลงไปด้วย

ไม่มีหญิงสาวในบทกวี (2553)

ไม่มีหญิงสาวในบทกวี


          “ไม่มีหญิงสาวในบทกวี”  ซะการีย์ยา อมตยา เป็นกวีนิพนธ์นำเสนอภาพและแนวคิดเพื่อการดำรงและดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข ที่ผสมผสานวรรณศิลป์ ปรัชญา และศิลปะเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ประกอบด้วยเนื้อหาหลากหลายมิติ ตั้งแต่ปัจเจกบุคคล จนถึงระดับสังคม ไม่ผูกกับยุคสมัย ไม่มีพรมแดน ข้ามมิติเวลา และมิติพื้นที่ มีความลุ่มลึก กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ขบคิดและคิดต่อ “กวีนิพนธ์เล่มนี้เป็นบทร้อยกรองอิสระ (free verse) มีความสอดคล้องระหว่างรูปแบบกับเนื้อหาที่มีความหลากหลาย แม้ไม่มีจังหวะของฉันทลักษณ์ แต่ผู้เขียนสามารถวางจังหวะคำกวีได้อย่างทรงพลัง และสามารถใช้ภาษาที่ทำให้เกิดจินตภาพ มีการสร้างภาพพจน์ที่ลุ่มลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้การอ้างถึง (allusion) และปฏิทรรศน์ (paradox)

ลับแล, แก่งคอย (2552)

ลับแล, แก่งคอย (2552)

      ลับแล, แก่งคอย เล่าเรื่องชีวิตเด็กชายวัยรุ่นที่ถูกอำนาจแห่ง ความถูกต้องควบคุมโดยไม่รู้ตัว ความคิดและการดำเนินชีวิตที่ถูกกำหนดไว้นั้นมีพลังอำนาจเกินกว่าจะขัดขืน ชีวิตที่ขาดอิสระจึงเหมือนการเดินวนอยู่ในเขาวงกต ทางออกของเขาที่ดูเหมือนว่ามีอยู่เพียงทางเดียวจึงเกือบนำไปสู่การแตกสลาย ของตัวตน
นวนิยายเรื่องนี้จึงทำให้เราตระหนักว่า การตอบคำถาม ฉันคือใคร?” อาจเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์

เรื่องมีอยู่ว่า... เรื่องเล่าถึง เหตุการณ์ในชีวิตจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ มาถึงสุดท้ายของความตาย ส่งทอดเป็นจิตวิญญาณอันทุพลภาพสู่คนรุ่นลูกหลาน เพื่อค้นแสวงถึงความหมายอันแท้จริงของ "กาลเวลา" ที่ผ่านพ้นไป
ในนามของความเปลี่ยนแปลงอันกลับกลอกสิ้นดี
ฉันไม่เห็นด้วยแม้แต่น้อยที่ผู้แต่งเรื่องนี้ หยิบฉวยเอาวาทะของนักเขียนผู้ทรงอิทธิพลของโลกมาใช้เป็นบทนำเล็ก ๆ ในแต่ละภาคทั้ง 5 ภาคของนวนิยายเรื่องนี้ แม้นว่ามันจะเป็นความลงตัวมากมายเพียงไรก็ตาม หรือมันจะสื่อสารถึงนัยยะอื่นอันสลักสำคัญยิ่งต่อนวนิยายมากเพียงไร มันก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ทั้งสิ้น

ขณะที่กาลเวลาหายใจของมันอยู่อย่างสม่ำเสมอนั้น มันได้กะเกณฑ์ ได้ฉีกทึ้ง ได้ชำแรกเอาความรู้สึก นึก คิด และจิตวิญญาณของเราอย่างหน้าตาเฉย ลับแล,แก่งคอยเองได้ทำหน้าที่เป็นสถานพำนักที่รอคอยการค้นพบ รอคอย..ขณะที่เร่งเร้าผู้อ่านอย่างเราทุกขณะ จนบางครั้ง มันดูเหมือนนวนิยายสืบสวนสอบสวน ที่ตัวฆาตกรคือ "ข้อเท็จจริง" ในนามของ "ความเป็นจริง" ที่จะไขรหัสสัญญะต่าง ๆ ซึ่งแขวนรอการค้นหาตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง เริ่มตั้งแต่

-ลับแล ชื่อเมืองอันเป็นต้นสกุลของผม มาถึงความทับซ้อนของตัวละครระหว่างลับแล (น้องชาย) กับแก่งคอย (พี่ชาย) การที่ลับแล "โยน" บุคลิกด้านร้ายที่มีอยู่ในตัวให้เป็นตัวตนของอีกคนคือ แก่งคอย กระทั่งแขนข้างที่บิดงอผิดรูปของลับแล

ลับแล,แก่งคอย บอกเล่าเรื่องราวของสัญชาตญาณแห่งความเป็นมนุษย์ ความหยั่งรู้ และภูมิปัญญาอันหมิ่นเหม่ และหากว่ามันจะเป็นนวนิยายเชิงอัตชีวประวัติ ของผู้แต่ง อุทิศ เหมะมูล ฉันจะไม่ถามต่อเลยว่า แล้วชีวิตของนายอุทิศ เหมะมูลและโคตรเหง้าบรรพบุรุษเขาจะมีฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์อะไรที่จะทำให้นวนิยายเรื่องนี้สลักสำคัญหรือทรงคุณค่าขึ้นมาได้ ก็แค่ประวัติคนธรรมดา ๆ ไม่ได้เป็นบุคคลผู้ทำคุณูปการแก่ประเทศชาติบ้านเมืองสักหน่อย เพราะนั่นไม่ใช่คำถามที่ควรถามกับนวนิยายเรื่องนี้

เพราะมันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากทัศนะคติที่เชิดชูวีรบุรุษ หากแต่มันได้บอกกล่าวแก่เรา ตั้งถามร่วมกับเราอย่างองอาง และอย่างกล้า ๆ กลัว ๆ อยู่บ้างว่า ชีวิตนั้นแท้แล้วเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ หรือเพียงไหน แท้จริงแล้วอะไรทำให้เราเจ็บปวด อะไรเปลี่ยนแปลงเรา อะไรให้กำเนิดเรา และอะไรได้พรากเราไปจากชีวิตที่แท้ของเรา

ข้อสุดท้าย มันได้บอกแก่เราอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ชีวิต เป็นมากกว่า ภูมิปัญญา ที่เราจะกล่าวขานถึงความสำคัญของมัน

ชีวิตไม่ได้ประกอบขึ้นจากความทรงจำ และร่องรอยต่าง ๆ ที่ปรากฎเท่านั้น หากแต่มันดำเนินของมันมาแต่บรรพกาล ทั้งที่ปรากฎและไม่เคยปรากฎ ทั้งที่หลงลืมไปแล้ว และได้เลือกจดจำทั้งที่มันไม่ใช่ความจริง และทั้งที่มันถูกบิดเบือนครั้งแล้วครั้งเล่า

มันได้ฝังอยู่ใน "สภาพ" ของจิตวิญญาณอันฟุ้งกระจาย และไร้พันธะต่อกายภาพ หากเมื่อ "ภูมิประเทศ" แห่งสภาพจิต ถูกกดดัน ถูกไถ่ถามอย่างจะตั้งคำถาม ถึงความมีอยู่ของมัน เมื่อนั้นเอง บรรดาความเจ็บปวดรวดร้าวทั้งหลายทั้งปวงที่บิดผันอยู่เป็นบาดแผลแห่งการจองจำอันมีลมหายใจ ก็พร้อมย่างกรายออกมาเรียกร้องการชำระล้างความผิดบาปทั้งมวล ชำระล้างความจริงเท็จทั้งมวล เพื่อให้ปรากฎซึ่งความจริง มันจะคงอยู่ และเป็นเช่นนั้น

เหมือนกับที่ลับแลต้องยอมจำนนในขณะที่ตัวเขาเป็นดั่งสัญชาตญาณแห่งความเจ็บปวดทุรนทุรายอันฝังลึก พร้อมจะล้างแค้นหรือล้างบาปก็ได้ เขาเลือกจะล้างแค้น บิดเบือนความจริง เปลี่ยนความทรงจำแง่ร้ายเป็นภาพลวงตา เพื่อสถาปนาความจริงอันเป็นเท็จขึ้นมาตอบสนองสัญชาติญาณแห่งความเจ็บปวดนั้น

สุดท้าย ลับแล ต้องยอมจำนนต่อความจริง ต่อความผิดหวังครั้งใหญ่หลวงต่อหน้าหลวงพ่อ ในการชำระล้างที่ "แม่" ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดในครั้งเขาเป็นทารก และในครั้งนี้ แม่ก็ยังเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตใหม่ภายใต้บทบัญญัติแห่งความจริง ละทิ้งความคุลมเครืออันหลอนลวงในอดีต เช่นเดียวกับที่แม่เป็นผู้บิดแขนข้างหนึ่งของเขาจนคดงอผิดรูปมาถึงทุกวันนี้

เราหลงลืมอะไรบางอย่าง (2551)


       
เราหลงลืมอะไรบางอย่าง (2551)

          เป็นครั้งแรก ที่รวมเรื่องสั้นเล่มแรกในชีวิตของนักเขียนคนหนึ่ง คว้ารางวัล "วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน" หรือ "ซีไรต์"

ไม่แปลก เพราะหากมองตามกติกา ของคณะกรรมการรางวัลซีไรต์ ก็ตัดสินกันที่ผลงาน หาใช่ว่าใครทำงานมานานกว่าใคร หรือใครมีผลงานเขียนมาแล้วมากกว่ากัน ดังนั้น การที่หนังสือเล่มแรกของนักเขียนคนหนึ่ง จะได้รับรางวัลระดับชาตินี้ จึงเป็นเรื่องชอบธรรมที่น่ายกย่องคณะกรรมการตัดสิน ถึงแม้ว่าในวันประกาศผลที่ผ่านมานั้น ข่าว "ซีไรต์" จะไม่ได้ครึกโครม อันเนื่องจากถูกข่าวเหตุบ้านการเมืองกลบทับ ก็ตามที

รวมเรื่องสั้นที่พูดถึงชื่อ "เราหลงลืมอะไรบางอย่าง" นักเขียนคนหนึ่งนั่นคือ "วัชระ สัจจะสารสิน"

"หนังสือเรื่องสั้นเล่มนี้ เป็นงานเขียนที่สะท้อนภาพชีวิตและสังคมในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าสังคมปัจจุบัน มนุษย์มีความขัดแย้งต่อสู้และแข่งขันกันทางการเมือง-สังคม-วัฒนธรรม มนุษย์เปลี่ยนไปตามโลกโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว จากความละเมียดละไมไปสู่ความหยาบกระด้าง จากคนที่มีน้ำใจไมตรีไปสู่คนเพิกเฉยเย็นชา จากสังคมเรียบง่ายไปสู่สังคมที่ซับซ้อน...

"ในสภาพดังกล่าวมนุษย์ จึงอยู่ในวังวนแห่งความสับสนและหวาดระแวง "เราหลงลืมอะไรบางอย่าง" จึงเป็นแกนกลางที่โยงเรื่องทั้งหมดเข้าด้วยกันทำให้ฉุกคิดว่า เราหลงลืมอะไรบางอย่างในชีวิตหรือไม่"

เป็นคำตัดสินของคณะกรรมการ รางวัลซีไรต์

กล่าวสำหรับตัวนักเขียน-วัชระ สัจจะสารสิน (นามปากกา) เกิดเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2518 เป็นชาว อ.ควนเนียง จ.สงขลา เรียนจบชั้นประถมจากโรงเรียนบ้านควนเนียง ชั้นมัธยมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา ปริญญาตรี/โท คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ศาลปกครอง

"เราหลงลืมอะไรบางอย่าง" เป็นรวม 12 เรื่องสั้น

ลองทบทวนกันดูสักหน่อยว่า มี "อะไรบ้าง" ที่ "เราหลงลืม"

นักปฏิวัติ : เรื่องราวของหนุ่มนักศึกษาคนหนึ่ง ที่กำลังเตรียมตัวจะไปเสนอรายงานเกี่ยวกับเรื่องราวการปฏิวัติ หน้าชั้นเรียน โดยตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องที่ไม่เคยถูกทำความสะอาด เขาค้นคว้าเอกสาร เพื่อเตรียมทำรายงานอย่างหน่วงหนัก จนบางครั้ง เผลอคิดว่าตัวเองเป็นนักปฏิวัติไปด้วย แต่แล้ว เมื่อถึงวันที่ต้องเสนอรายงาน ในช่วงเดียวกับที่เหตุบ้านการเมืองมีกระแสข่าวการปฏวัติหนาหู เขาก็ต้องพบกับปัญหาว่า เพื่อนๆ รวมถึงครู อาจมองว่าเขาเลือกทำรายงานตามกระแส อันเป็นเรื่องที่เสียศักดิ์ศรีในความคิดปัจเจกชนอย่างเขา และอีกปัญหาคือ เขาไม่มีความกล้าพูดจาต่อหน้าผู้คน สุดท้าย เขาก็ตัดสินใจเลือกทำอะไรบางอย่าง

เรื่องเล่าจากหนองเตย : ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง หนุ่มดีกรีปริญญาตรีจากเมืองกรุง มุ่งหวังกลับมาเปลี่ยนแปลง "หนองเตย" - หนองน้ำที่ร่ำลือกันมาตลอดว่า มีพรายน้ำอาศัยอยู่ เป็นพรายน้ำที่ได้พรากเอาชีวิตของผู้ที่ลบลู่ท้าทาย ให้จมลงสู่ก้นบาดาลมาแล้วมากมาย เขานำรถแบ๊คโฮเข้ามา นำผู้คนจากในเมืองเข้ามา ขุดลอกหนองเตยจนแทบจะไม่เหลือเค้ารอยเดิม ท่ามกลางเสียงโต้แย้งคัดค้านจากคนในหมู่บ้าน กระทั่งวันหนึ่ง ท่ามกลางชีวิตที่รุ่งโรจน์ริมหนองเตย สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็มาเยือนเขา อะไรบางอย่าง

เพลงชาติไทย : ทุกคนในตลาดแห่งนั้นต้องหยุดยืนตรงเมื่อเพลงชาติไทยดังขึ้น ยกเว้นเขา ชายผู้ที่คนในตลาดไม่มีใครคิดเกลียดชัง กฎหมายบ้านเมืองไม่เคยคิดเอาผิด กระทั่งการมาของตำรวจหนุ่มนายหนึ่ง แม้จะมีการชี้แจงตำรวจเกี่ยวกับชายผู้นั้นมากเพียงใด แต่นายตำรวจผู้มาใหม่ ก็ยังจะเอาโทษกับคนที่ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติเสียให้ได้ นายตำรวจกำลังหลงลืมอะไรบางอย่างไปหรือเปล่า ว่าชายผู้นั้นเป็นคนบ้า

นี่เป็นเพียงเรื่องสั้นส่วนหนึ่งใน "เราหลงลืมอะไรบางอย่าง"

หนังสือรวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ปีล่าสุดที่ผู้คนอาจหลงลืม เพราะถูกกระแสการเมืองกลบ

สุดสัปดาห์ที่ "ร้อนระอุ" แบบนี้ พักผ่อนอยู่บ้าน ลองหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน บางที เราอาจค้นพบสิ่งที่เราหลงลืมไปก็เป็นได้ เพราะใช่ไหมว่า เหนือยิ่งกว่าความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง เราทั้งผองล้วนพี่น้องกัน แล้วจะหมายฟาดฟันกันไปไย

เราหลงลืมอะไรหรือเปล่า?




 

เจ้าหงิญ (2548)

เจ้าหงิญ (2548) 
เจ้าหงิญ หนังสือรวมเรื่องสั้นรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2548 ผลงานของบินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนชื่อดัง

หนังสือชื่อแปลกที่ทำให้นักอ่านต้องสะดุดตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยิน ทำไมต้องเป็นเจ้าหงิญ คุณสามารถหาคำตอบได้จากเรื่องสั้นทั้ง 8 เรื่องที่ถูกบรรจงสร้างสรรค์ด้วยจินตนาการอันลึกล้ำของบินหลา สันกาลาคีรี ที่ถ่ายทอดออกมาได้อย่างสนุกสนาน ชวนติดตาม หลากรสหลายอารมณ์ การใช้ภาษาเฉพาะตัวแบบที่คนทั่วไปอ่านแล้วต้องรู้สึกอึ้งและอมยิ้มไปกับเนื้อเรื่องได้ตั้งแต่บรรทัดแรกที่อ่านจนถึงบรรทัดสุดท้าย

เรื่องสั้นทั้ง 8 เรื่องถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของนิทานที่ถูกจัดเรียงไว้อย่างแยบยล ซึ่งบินหลาเองได้ตั้งใจให้เป็น “นิทานก่อนตื่น” ของผู้อ่านซึ่งเขาไม่ได้ตั้งใจให้ผู้อ่านเป็นเด็กดังที่รูปแบบของหนังสือต้องการจะสื่อ แต่ต้องการให้เป็นพ่อแม่ของเด็กซึ่งเขากล่าวไว้ในงานประกาศรางวัลซีไรต์ 2548 ว่า “ผมอยากให้คนที่ดูแลคนรุ่นต่อไป ใช้ความรู้สึกคิดดูว่า คนรุ่นต่อไปของคุณจะต้องดูแลคนอีกรุ่นหนึ่ง ความดีงามจะถูกส่งต่อได้ ก็พอๆ กับที่ความเลวร้ายจะถูกส่งต่อ ความหยาบกระด้างถูกส่งต่อได้ ก็พอๆ กับที่ความละเอียดอ่อนจะถูกส่งต่อเช่นกัน คุณดูแลคนรุ่นต่อไปอย่างไร เขาก็จะดูแลคนรุ่นถัดไปเช่นนั้น” หนังสือเล่มนี้จึงเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความรักและความหวังดีที่บินหลาต้องการที่จะส่งต่อไปยังผู้อ่านเพราะตัวเขาเองก็ทำงานนี้ด้วยความรักและความสุขเช่นกัน


การผูกเรื่องเป็นไปอย่างแยบยล ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเคลิบเคลิ้มไปกับเนื้อเรื่อง มารู้สึกตัวอีกทีก็ได้พบว่าเป็นนิทานซ้อนนิทาน จนต้องกลับพลิกไปอ่านใหม่ตั้งแต่เรื่องแรก แต่ละเรื่องซ่อนและแทรกสัญลักษณ์ต่างๆไว้ได้อย่างแนบเนียน จนบางครั้งผู้อ่านไม่รู้ตัว หากจะหาความหมายของสัญลักษณ์หรือตีความเนื้อเรื่องตั้งแต่การอ่านครั้งแรกนั้นคงจะเป็นไปได้ยาก แต่ถึงจะไม่รู้ความหมายของสัญลักษณ์ทุกอย่างที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ แต่ก็ทำให้ผู้อ่านสามารถรับรู้ได้ถึงรสของความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับงานเขียนชิ้นนี้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังได้ข้อคิดต่างๆ กลับมาอย่างไม่ทันตั้งตัว ในเรื่องของภาษาบอกได้เลยว่า “ง่ายแต่ลึกซึ้ง” คำทุกคำถูกกลั่นกรองออกมาอย่างละเอียดอ่อน บางคำที่ถูกรังสรรค์มาใช้นั้นทำให้เราคาดไม่ถึง


เมื่ออ่านจนจบเรื่องก็บอกได้เลยว่า “บินหลา สันกาลาคีรี” เป็นนักเขียนและนักเล่านิทานที่หาตัวจับยากจริงๆ หากอยากจะพบคำตอบของคำถามต่างๆเกี่ยวกับ “เจ้าหงิญ” คุณควรหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน แล้วคุณจะพบกับ สันติสุข ความหวังดี และความรักของ “บินหลา สันกาลาคีรี”

แม่น้ำรำลึก (2547)

แม่น้ำรำลึก (2547)

           “แม่น้ำรำลึก” หนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ ของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ได้รับรางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของประเทศไทย ด้วยภาษาเขียนที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ภายในบทกวีทั้ง 40 กว่าบทในเล่ม ช่วยย้อนคืน ความทรงจำในวัยเยาว์ของหลายๆคน เช่นบทกวีที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ รุ้ง, ตะเกียง, ว่าว, แมวหินบนหลังคา, ซ่อน-หา, หมู่เมฆ, กองไฟฤดูหนาว, ต้นหว้า, หนังสติ๊ก และบทกวีอื่นๆ... ก่อนหน้านี้ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ เคยมีผลงานผ่านเข้า รอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปี 2545 ในผลงานเรื่องสั้นชุด “ชีวิตสำมะหาอันใด”

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความสุขของกะทิ (2549)


              เด็กหญิงกะทิอายุ ๙ ปีอาศัยอยู่บ้านทรงไทยริมคลองที่อยุธยากับตาและยาย ทุกวันเธอตื่นแต่เช้า คดข้าวใส่ขันและไปใส่บาตรกับตาที่ท่าน้ำหน้าบ้าน หลวงลุงนั่งเรือมารับบาตรและมีเด็กวัดที่เป็นหลานชื่อ ทอง พายเรือมาให้ กะทิซ้อนท้ายจักรยานตาไปขึ้นรถสองแถวที่หน้าปากซอยเพื่อไปโรงเรียน เธอมีปิ่นโตใส่อาหารกลางวันที่ยายเตรียมให้ไปโรงเรียนด้วย
กะทิมีความสุขดีในบ้านหลังน้อยที่ล้อมรอบด้วยไม้ไทย ในวันว่างตาชวนกะทิพายเรือไปเที่ยวเล่นในทุ่งและไปจนถึงศาลาริมน้ำใต้ต้นก้ามปู ตาเคยเป็นทนายมีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ เมื่อเกษียณแล้วจึงย้ายกลับมาบ้านเกิด บูรณะบ้านไทยและใช้ชีวิตบั้นปลายช่วยเหลือผู้คนในท้องถิ่น ยายเคยทำงานเป็นเลขานุการนายใหญ่โรงแรมห้าดาวและเลือกที่จะใช้ชีวิตเรียบง่ายเช่นกัน กะทิมีพี่ทองเป็นเพื่อนเล่น ชีวิตดำเนินไปอย่างเรียบง่ายแม้ว่าไม่สมบูรณ์ครบถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น
กะทิจำแม่ได้เพียงลาง ๆ ตายายไม่พูดถึงแม่ ในบ้านไม่มีรูปถ่ายแม่ กะทิคิดถึงแม่ทุกวัน อยากพบหน้า อยากให้แม่มารับที่โรงเรียน กะทิอธิษฐานทุกวันให้ฝันเป็นจริง แล้ววันหนึ่งยายก็ถามกะทิว่า
“กะทิ อยากไปหาแม่ไหมลูก”
เพียงเท่านี้การเดินทางของกะทิก็เริ่มขึ้น ตายายบอกกะทิว่าแม่ป่วยและพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านชายทะเล ชฏาหรือน้าฏา เลขาฯ ของแม่ ขับรถมารับ อาการของแม่หนักแล้วและตั้งใจให้กะทิมาใช้เวลาช่วงสุดท้ายด้วยกัน โรคของแม่คือเอแอลเอส กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ จนช่วยตัวเองไม่ได้และถึงขั้นหายใจเองไม่ได้ แม่ไม่ยอมใช้เครื่องช่วยหายใจเพราะจะทำให้พูดไม่ได้ แม่เลือกที่จะทอนเวลาชีวิตลงแต่อยู่อย่างมีคุณภาพ
กะทิได้รู้ว่าแม่ตัดสินใจฝากกะทิไว้กับตายายเมื่อรู้ว่าไม่สามารถดูแลกะทิได้เอง เหตุการณ์ที่ทำให้แม่ตัดสินใจคือเมื่อกะทิอายุ ๒ ขวบ แม่พากะทิไปพายเรือเล่นจนถึงศาลาริมน้ำ แต่เกิดพายุและกลับบ้านไม่ทัน กะทินั่งอยู่ในเรือและเรือหลุดจากเสาที่ผูกไว้โดยที่แม่ช่วยอะไรไม่ได้เลย วันนั้นโชคดีที่ทองเด็กวัดตามมาหาเพื่อนเล่นจึงช่วยกะทิกับแม่ไว้ได้ กะทิอยู่กับตายายนับจากวันนั้นและเมื่อรู้เหตุผลจากปากของแม่ก็เข้าใจ
แม่จากไปอย่างสงบและฝากให้เพื่อนของแม่ชื่อ กันต์ และลูกพี่ลูกน้องชื่อ ตอง เป็นคนพากะทิกลับไปที่คอนโดกลางกรุงเพื่อพบกับส่วนหนึ่งของชีวิตแม่
กะทิจึงเดินทางอีกครั้งและมาถึงคอนโดที่กะทิเคยอยู่กับแม่ก่อนจะพลัดพรากกัน ที่นี่มีห้องหนึ่งที่แม่จัดเก็บเอกสารเรื่องราวชีวิตของตัวเองไว้ ลุงตองเป็นคนพากะทิไปเปิดตู้เอกสารและทำให้กะทิพบว่าพ่อของกะทิชื่อ แอนโทนี ซัมเมอร์ ชาวพม่าที่ไปเติบโตที่อังกฤษ
แม่พบพ่อเมื่อไปเรียนต่อและทำงานที่นั่น ทั้งสองรักและแต่งงานกัน แต่แม่ได้งานใหญ่ที่ฮ่องกงทำให้ต้องแยกกันอยู่ ไม่นานแม่ก็รู้ว่าคนรักเก่าของพ่อตามมาพบกันและแม่ตัดสินใจให้คนทั้งสองสมหวัง แม่เลือกเดินทางกลับมาอยู่กรุงเทพฯ และพบว่าตัวเองตั้งท้อง
แม่เตรียมจดหมายไว้ให้กะทิส่งถึงพ่อและสั่งไว้ว่าให้กะทิตัดสินใจเองว่าจะส่งหรือไม่ บทสุดท้ายของหนังสือทำให้รู้ว่ากะทิเลือกและพอใจที่จะใช้ชีวิตเรียบง่ายกับตายายที่บ้านริมคลองสืบไป

โลกในดวงตาข้าพเจ้า(2550)

โลกในดวงตาข้าพเจ้า(2550)
     โลกในดวงตาข้าพเจ้า   ของมนตรี  ศรียงค์   เป็นบันทึกภาพความเคลื่อนไหวในชุมชนเล็กๆผ่านดวงพิเศษของกวี   ด้วยมุมมองเฉพาะตัวที่โดดเด่น   ผสมผสานกับการย้อนรำลึกเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนที่ผ่านมาในชีวิต   สามารถทำให้เรื่องที่เป็นรูปธรรมเหล่านั้นโยงไปสู่สภาพสังคมโดยรวมได้
                      มนตรี   ศรียงค์   ประจักษ์ในสาระของชีวิตจากการงานที่เป็นจริงและผู้คนรายล้อม   แล้วนำมาถ่ายทอดในบทกวีได้อย่างกลมกลืนมีชีวิตชีวาศิลปะในการนำเสนออยู่ที่การสรรคำ  และการเรียบเรียงลำดับภาพความคิดด้วยชั้นเชิงทางวรรณศิลป์   ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์และชวนคิด

ช่างสำราญ ( 2546)

ช่างสำราญ ( 2546)
                     มนุษย์ตะกายฝันไปสู่ดวงดาวจนมองไม่เห็นรอยร้าวบนฐานราก ความหรรษาที่เจือความขมปร่าของชีวิต ซึ่งคุณอาจจะยิ้ม
นิดๆ ในความซื่อใสไร้เดียงสา หรือ อาจปาดน้ำตาถอนสะอื้น อยาก
ยื่นมือออกไปช่วยเหลือ และเอื้อใจออกไปโอบอุ่น
หรืออย่างน้อย ก็ไม่เบือนสายตา เมินหน้าหนี นี่คือนวนิยายที่เรียบง่ายและงดงาม เปี่ยมไปด้วยความหวัง ความฝัน และความเชื่อมั่นศรัทธาในด้านดีของจิตใจของมนุษย์
            นี่คือสุ่มเสียงแห่งความเงียบงันของยุคสมัย ที่ผู้คนรีบเร่ง ตะกายฝัน แข่งขันกันไปสู่ดวงดาว จนมองไม่เห็นรอยร้าวบนฐานราก หรือ รูรั่วบนหลังคาสลัมเบื้องล่าง กระทั่งจานอาหารที่ว่างเปล่า เสียงหัวเราะและร้องไห้
            นี่คือชีวิตชนิดใด ...ผู้เขียนได้ตั้งคำถามและเชื้อเชิญให้เราได้ทอดสายตามองเอื้อมมือออกไปสัมผัสและเปิดหัวใจออกไปสดับรับฟัง เรื่องราวอันแสนจะธรรมดาสามัญทั้งหลายทั้งปวงนั้น ในมุมมองที่แตกต่างกันออกไปจากความคุ้นชินเดิมๆ เรื่องราวของผู้คนเล็ก ในชายขอบนาคร ซุกซ่อนตัวเองอยู่หลังตึงสูงและกำแพงหนาทึบ  เป็นชุมชนห้องแถวที่ไร้ชื่อ หากเสมือนหนึ่งภาพจำลองของชุมชนมนุษย์บนโลกกลมๆ ใบนี้ผ่านชีวิตของเด็กชายเล็กๆ คนหนึ่งกับผู้คนเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง
            ก่อนที่ผู้เขียนจะถอยห่างออกมาอย่างมีมารยาท ไม่คาดคั้นเอาคำตอบ ไม่ได้เทศนาสั่งสอนหรือไล่ต้อนเราด้วยลีลาดุเด็ดเผ็ดร้อน หากเล่าด้วยเสียงเอื้ออาทรอ่อนโยนแบบผู้ใหญ่ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว มานาน มีอารมณ์ขันที่แม้จะเจือความขื่นและเสียดเย้ยอยู่บ้างในที แต่ก็มิได้ทำตัวเป็นนักมนุษยธรรมหน้าแป้นพิมพ์ดีด ขณะเดียวกันก็ไม่ได้มองโลกในแง่ดีหรือร้ายจนเกินไป ผู้เขียนมองโลกมนุษย์อย่างที่มันเป็น เป็นกลางๆ และมีความหวังเต็มเปี่ยมในชีวิต ว่าคนดีและสิ่งดีๆ ยังมีอยู่ และโลกที่สุขสันติหรือสังคมในอุดมคตินั้นเป็นจริงได้ โดยเริ่มต้นจากข้างในจิตใจของมนุษย์นี่เอง ขอเพียงเขาเลิกก่อกำแพงกักกั้น กีดกันตัวเองจากคนอื่น และหันมาสร้างสะพานแห่งความ     รักความเข้าใจ โยงสายใยเอื้ออาทรสู่เพื่อมนุษย์ด้วยกัน โลกนี้ก็แสนหฤหรรษ์ และ
      ช่างสำราญ

ความน่าจะเป็น ( 2545 )

ความน่าจะเป็น ( 2545 )
            ความน่าจะเป็น เป็นวรรณกรรมที่น่าจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนความคิดของคนรุ่นใหม่ ปราบดา หยุ่น เป็นนักเขียนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่างสังเกตชีวิตพฤติกรรมมนุษย์ วิพากษ์วิจารณ์สังคมและค่านิยมของยุคสมัย แล้วนำมาล้อเลียนเสียดสีด้วยอารมณ์ขันอย่างเฉียบคม
            ความน่าจะเป็น แสดงความสามารถของผู้เขียนในการนำเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องมาเขียนให้เป็นเรื่องที่น่าขบคิดหรือตั้งคำถามโดยไม่ให้คำตอบ เรื่องสั้นในหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดนี้มีลีลาและกลวิธีการเขียนเฉพาะตัว และมีความหลากหลายแปลกใหม่ในด้านกลวิธีและขนบวรรณศิลป์ นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นในด้านการเล่นกับภาษาอย่างมีรากฐานทางวัฒนธรรม

บ้านเก่า ( 2544 )

บ้านเก่า ( 2544 )
             บ้านเก่าสื่อความคิดของกวี โดยเรียงร้อยประสบการณ์และสิ่งธรรม-
   ดาสามัญรอบตัว ซึ่งคนทั่วไปอาจมองข้าม กวีสังเกตสังคมด้วยสัมผัสอัน 
ละเอียดอ่อนจากมุมมองเฉพาะตัวที่โดดเด่น โดยมีภาพ บ้านเก่าซึ่งแสดงวิถีชีวิตดั้งเดิมเป็นพื้นฉากเขาเองเห็นความเปลี่นแปลงของสังคมเมือง   โดยเฉพาะกระแสบริโภคนิยมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่รุกเข้ามาลบภาค บ้านเก่า ไปทีละน้อย
            ถึงแม้จะไม่สมบูรณ์แบบในลีลาภาษา แต่รวมกวีนิพนธ์บ้านเก่า มีความโดดเด่นในกลวิธีทางวรรณศิลป์ โดยเฉพาะการนำสิ่งตรงข้ามหรือคล้ายคลึงมาเชื่อมโยงทาบเทียบกัน และด้วยนำเสียงที่อ่อนโยนกับท่าทีความคิดของผู้อ่านอยู่ในที ทำให้หนังสือกวีนิพนธ์เรื่องนี้สามารถสื่อสารสิ่งที่กวีต้องการจะถ่ายทอด