วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมนิทรรศการหนังสือดี


                                                         นักเรียนที่รับผิดชอบ

                                                        1.น.ส.นรนารถ  ด้วงรักษ์
                                                        2.น.ส.สายฝน  คงแก้ว
                                                        3.ด.ญ.จุฑารัตน์  หลีแก้ว
                                                        4.น.ส.ปริยา  ยังชุม
                                                        5.น.ส.ลัดดาวัลย์  มากมูล
                                                        6.น.ส.ลัดดาวัลย์  มากมูล
                                                        7.น.ส.ธมลวรรณ  วิชา
                                                        8.ด.ญ.อรนิภา  ชนะนาค
                                                        9.ด.ญ.วิไลวรรณ  นนทสิทธิ์


แสดงหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ตั้งแต่พุทธศักราช 2522 - 2553 หนังสือดีที่ได้ควรอ่านและหนังสือที่ได้รับรางวัลแว่นแก้ว
 
เพียงความเคลื่อนไหว ( 2523 )
                        กวีนิพนธ์ของเนาวรัตน์ ถือว่าเป็นงานร่วมสมัยที่  
            มีเอกลักษณ์ ในแง่ที่ว่าได้รวมเรื่องของเฉพาะยุคหรือเฉพาะแห่ง  
        กับเรื่องของสากลเข้าไว้ด้วยกัน ในขณะเดียวกันที่เขาได้สำเหนียก
      ถึงความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านของชีวิตในยุคนี้ เขารู้ถึงวิธีที่จะทำให้-
  ความซับซ้อนนั้นเป็นอมตะตลอดกาล ด้วยการแสดงออกเป็นปรัชญาแห่งความ-
 คิดในรูปแบบที่กะทัดรัดสละสลวย
      ทั้งนี้มิใช่ว่าเขาจะมีวิธีการแสดงปรัชญาด้วยระบบที่เด็ดขาดก็หาไม่ หากแต่เขามีสายตาประหนึ่งผู้พยากรณ์ซึ่งมองทะลุผิวหน้าของสรรพสิ่งเพื่อค้นหาความหมายที่ลึกซึ้งกว่า  อย่างไรก็ตาม เขาก็มิได้เทศนา ยิ่งกว่านั้น เนาวรัตน์มีวีที่จะแสดงอารมณ์ที่รุนแรงได้อย่างสง่างามและทรงศักดิ์ ความสามารถ ในการใช้รูปแบบกวีนิพนธ์ของเขานั้น เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เขาเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านฉันทลักษณ์ตามแบบแผน และทั้งด้านเพลงพื้นบ้านถึงขนาดที่เรียกว่าในเพลงกล่อมเด็ก เนาวรัตน์ก็อาจสอดสาระทางการเองและทางสังคมที่ร้อนแรงได้
            เพียงความเคลื่อนไหว เป็นตัวอย่างที่ดียิ่งของลักษณะแบบเพลงพื้นบ้านของ
กวีนิพนธ์ของเขา เนาวรัตน์ส่งสารถึงหัวใจโดยตรง เขาแสดงถึงความสำนึกเกี่ยวกับสิ่งที่ควรกระทำ การรับเอาปัญหาทั้งปวงของเพื่อนมนุษย์ และเหนือสิ่งใด ความซื่อสัตย์ของเขาให้เห็นเด่นชัดในบทกวีทุกบท
      คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เกิดลักษณะร่วมในกวีนิพนธ์ยุคนี้ อาจจะถือได้ว่า เขาเป็นนักเขียนที่โน้มน้าวจิตใจได้มากที่สุดผู้หนึ่งของไทยในสมัยปัจจุบัน และเขาดูจะตระหนักถึงความจริงที่ว่าอุดมการณ์ไม่สามารถจะใช้แทนหัวใจของมนุษย์ได้


คำพิพากษา ( 2525 )
          คำพิพากษาเป็นนวนิยายที่มีการผสานอย่างกลมกลืน ระหว่าง
   แนวคิด ที่มีลักษณะสากลรูปแบบและเนื้อหาซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ของสังคมไทย (ทั้งยังใช้กลวิธี และ ท่วงทำนองแปลกใหม่กว่านวนิยายไทยเรื่องอื่นๆ คือ ไม่มีพระเอก นางเอก ซึ่งจะต้องผูกพันกันในเรื่องของความรัก )  เป็นนวนิยายที่มีความสมบูรณ์ทางวรรณศิลป์
       ผู้ประพันธ์ได้เสนอแนวคิดที่ว่า คนในฐานะปัจเจกชนมักจะตกเป็นเหยื่อความเชื่อ และคำตัดสินของสังคม แม้ว่าจะมีความจริงหรือไม่ก็ตาม ซึ่งมีผลให้บุคคลอ้างว้างโดดเดี่ยว และทุกข์ทรมานจนถึงทำลายทั้งจิตใจและร่างกายในที่สุด
      ผู้ประพันธ์ได้สร้างเรื่องโดยใช้สังคมของชนบทไทยเป็นฉาก ใช้วิธีดำเนินเรื่องแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือนำเรื่องโดยวิธีเสนอภูมิหลังจูงใจให้คนติดตามอ่านและช่วงแรกดำเนินด้วยเหตุการณ์ที่เสมือนร่างแห รัดรั้งชีวิตตัวเอกโดยไม่อาจดิ้นหลุด ส่วนช่วงหลังได้เสนอการต่อสู้ของตัวเอกที่หาทางออกไม่ได้ จึงหาทางหนีจากโลกแห่ง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น