วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วาณิช จรุงกิจอนันต์ ผู้แต่งเรื่องซอยเดียวกัน




ประวัติย่อ  วาณิช จรุงกิจอนันต์  ผู้แต่งวรรณกรรมซีไรต์เรื่องซอยเดียวกัน ปีพ.ศ.2527
                 วาณิช จรุงกิจอนันต์ เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน บิดาทำงานโรงสีข้าว มารดาทำขนมขาย
การศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จบหลักสูตรประโยคประถมการช่างจากโรงเรียนช่างศิลป์ กรมศิลปกร กรุงเทพฯ  จบหลักสูตรปริญญาตรีจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และการพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปกร (ศิลปบัณฑิตสาขาภาพพิมพ์) จบหลักสูตรปริญญาโท จากคณะศิลปะมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองลองบีช ประเทศสหรัฐอเมริกา (ศิลปมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาพพิมพ์)
ประวัติงาน เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ไปสมัครงานทำงานหนังสือที่ "สตรีสาร" อาจารย์นิลวรรณ ปิ่นทอง รับไว้ให้ช่วยงานตอนเย็นๆ กลางวันไปทำงานที่ฝ่ายศิลป์ที่หนังสือพิมพ์ "ประชาธิปไตย" รายวัน ทำงานฝ่ายศิลป์ หน่วยออกแบบธนาคารกสิกรไทย จนกระทั้งเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นปี 2518 กลับจากสหรัฐอเมริกา ไปทำงานนอกเวลาที่นิตยสาร "สรีสาร" เหมือนเดิมพร้อมกับทำงานที่บริษัทพรีเมียร์ พับลิบลิชชิ่ง ทำงานวารสารบ้านของการเคหะแห่งชาติและทำงานอื่นอีกหลายแห่ง รวมทั้งเป็นนักเขียนอิสระไปด้วยจนในที่สุดเข้าไปทำงานประจำแผนกละคร บริษัทแกรมมี่เอนเทอร์เทนเมนท์ จำกัด และเป็นนักเขียนประจำให้แก่บริษัท มติชน จำกัด
                ในส่วนที่เกี่ยวกับงานประพันธ์ วาณิช จรุงกิจอนันต์ หัดแต่งกลอนตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษา มีผลงานกลอนตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร     "แม่บ้านการเรียน" ปี 2507 และสนใจการเขียนกลอนเรื่อยมา      เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย เคยเป็นนักกลอนทีมศิลปากรชนะเลิศแข่งขันโต้กลอนสดระดับอุดมศึกษา ปี 2515 และมีเรื่องสั้น 3-5 เรื่อง ได้พิมพ์ในหนังสือวรรณศิลป์ หนังสือรับน้องของมหาวิทยาลัยศิลปกร และหนังสือรับน้องของโรงเรียนช่างศิลป์ ส่วนผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้ลงพิมพ์ในนิตยสารทั่วไปชื่อ "ในคืนแห่งความเซ็ง" ในนิตยสาร "ลลนา" รายปักษ์ เมื่อ พ.ศ. 2515 และเริ่มเขียนคอลัมน์ประจำเกี่ยวกับเพลงลูกทุ่งหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติรายวัน" เมื่อ พ.ศ. 2517 แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางคือ งานเขียนชุด "จดหมายถึงเพื่อน" ซึ่งเขียนเล่าเรื่องระหว่างไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา โดยเสนอในรูปแบบจดหมายที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน แล้วส่งจากสหรัฐอเมริกามาลงในนิตยสาร "ลลนา" ตั้งแต่ปี 2518 รวมจดหมายทั้งหมดได้ 20 ฉบับ เมื่อกลับจากสหรัฐอเมริกาจึงยึดการประพันธ์เป็นอาชีพจริงจังขึ้น มีผลงานหลายรูปแบบทั่งเรื่องสั้น นวนิยาย ร้อยกลอง บทความ สารคดี บทละครโทรทัศน์ บทภาพยนตร์ และงานเขียนเบ็ดเตล็ดที่โดดเด่นในการใช้สำนวนกวนอารมณ์ขันอีกมากซึ่งนอกจากจะปรากฎอยู่ในนิตยสารและหนังสือพิมพ์หลายฉบับแล้ว ยังมีผลงานรวมพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่อยู่เสมอหลายเรื่องได้รับรางวัลจากองค์กรต่างๆ
 นามปากกา
                สุริยฉาย (ตอบปัญหาชีวิตใน "ลลนา" )และใช้นามจริงเป็นส่วนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น