วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นิคม รายยวา แต่งเรื่องตลิ่งสูง ซุงหนัก

ประวัตินักเขียน ชื่อ : นิคม รายยวา
ประวัติย่อ
          เกิดวันที่ 9 เมษายน ปี พ.ศ.2487 ที่ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย เดิมชื่อนิคม แระกอบวงศ์  ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น รายยวา    เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย  และสำเร็จปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
           
เริ่มต้นชีวิตการทำงานกับ บริษัทธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันปิโตรเลียม อยู่ในกรุงเทพฯ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วเปลี่ยนไป ทำงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ที่จังหวัดกระบี่  ระยะหลังสนใจการเกษตรแบบคนต่างเมือง ลงมือทำสวนโกโก้โดยเซาะป่าเป็นร่อง ใช้แนวไม้เป็นร่มบังไพร โกโก้เสียหายหมดทั้ง 50,000 ต้น  ยังเคยทำเกษตรกรสวนยางพาราที่ภาคใต้และกลับไปทำสวนที่บ้านจังหวัดสุโขทัย  โดยสร้างผลงานประพันธ์เป็นงานอดิเรก
           
ตอนที่เรียนธรรมศาสตร์ เขาอยู่ในกลุ่ม "พระจันทร์เสี้ยว" ร่วมกับเพื่อนๆหลายคนที่มีบทบาทในวงการวรรณกรรมไทย เช่น วิทยากร เชียงกูล สุชาติ สวัสดิ์ศรี วีรประวัติ วงศ์พัวพันธ์ วินัย อุกฤษณ์ เธียรชัย ลาภานันท์ ฯลฯ เริ่มเขียนเรื่องสั้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2510-2516  แต่ทุกเรื่องได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้อ่านและนักวิจารณ์ 
           
พ.ศ. 2527 ได้นำเรื่องสั้นที่ได้เคยตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ  ได้รับการรวมพิมพ์เป็นเล่มชื่อ คนบนต้นไม้   นวนิยายเรื่องที่สอง ตลิ่งสูงซุงหนัก ได้รับรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติและต่อมาได้รับรางวัลซีไรต์ หรือรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประจำปี 2531 และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อ High Banks, Heavy Log  โดย Richard C. Lair  สำนักพิมพ์เพนกวินจัดพิมพ์
           
ได้เขียนหนังสือผจญภัยสำรับเด็กชุดค้นพบตัวเองออกมา 5 เล่ม และยังสนใจจะเขียนนวนิยายเรื่องใหม่อยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบันสมรสกับนางกันยารัตน์ (คีรี) รายยวา  มีบุตรชายและบุตรหญิงรวม 2 คน ชื่อ รวี รายยวาและรูป รายยวา
 
นามปากกา
          นิคม กอบวงศ์ , นิคม รายยวา

งานเขียนครั้งแรก
-          เรื่อง ตะกวดกับคบผุ (2526) นวนิยาย ในนามปากกา นิคม รายยวา

ผลงานรวมเล่ม
   นวนิยาย
-          เรื่อง ตะกวดกับคบผุ ได้รับรางวัลชมเชยจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ในนามปากกา นิคม รายยวา
-          เรื่อง ตลิ่งสูง ซุงหนัก (2527) นวนิยาย ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี 2531
-          เรื่อง ขออย่ารู้เลย ลงพิมพ์ใน วิทยาสารปริทัศน์ ได้รับรางวัลที่สองของบริษัทลองแมน  ไทยวัฒนาพานิช
-          เรื่อง บ่ายแห่งหมอกควัน ลงพิมพ์ในวารสารแลใต้
   รวมเรื่องสั้น
-          เรื่อง  คนบนต้นไม้ (2527) รวมเรื่องสั้น (หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน) ใช้นามปากกา นิคม กอบวงศ์  ลงพิมพ์ในหนังสือตะวัน
   หนังสือเด็ก
-          เรื่อง ของฝากแม่
-          เรื่อง สิ่งที่สวยงาม
-          เรื่อง ปูเสฉวนในเปลือกหอยตีนช้าง
-          เรื่อง เกาะโน
-          เรื่อง เราจะปลูกกันใหม่

งานที่ได้รับรางวัล
-          พ.ศ. 2513 เรื่องสั้นชื่อ "ขออย่ารู้เลย" ได้รับรางวัลที่สองจากบริษัทลองแมน
-          พ.ศ. 2526 นวนิยายเรื่อง ตะกวดกับคบผุ ได้รับรางวัลชมเชยจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ในนามปากกา นิคม รายยวา
-          พ.ศ. 2527 นวนิยายเรื่อง ตลิ่งสูงซุงหนัก ได้รับรางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
-          พ.ศ. 2531 ได้รับรางวัลซีไรต์จากนวนิยายเรื่อง "ตลิ่งสูงซุงหนัก" และได้รับการ แปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อ "High Banks, Heavy Log" โดย Richard C. Lair สำนักพิมพ์เพนกวินจัดจำหน่าย

ปัจจุบัน
          - ปัจจุบันหันมาเรียนรู้จากเกษตรกรในท้องถิ่นดั้งเดิม เพื่อทำสวนยางพารา

กฤษณา อโศกสิน ผู้แต่งเรื่องปูนปิดทอง

กฤษณา อโศกสิน

สุกัญญา ชลศึกษ์
กฤษณา อโศกสิน.jpg
นามปากกา:กฤษณา อโศกสิน
กัญญ์ชลา
เกิด:27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 (79 ปี)
ตำบลสำราญราษฎร์ กรุงเทพ
อาชีพ:นักเขียน
บิดา:กระมล ชลศึกษ์
มารดา:ทองโปร่ง ชลศึกษ์
คู่สมรส:ประพันธ์ ญาณารณพ (2502 - 2512)
สมพร ภูริพงษ์ ( - พ.ศ. 2527)
กฤษณา อโศกสิน นามปากกาที่แพร่หลายมากที่สุดของ สุกัญญา ชลศึกษ์ นักประพันธ์สตรีที่นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในด้านการประพันธ์นวนิยาย จนสามารถเรียกได้ว่าเธอคือ ราชินีนักเขียนนวนิยาย ก็คงจะไม่มีผู้ใดกล้าคัดค้าน
เธอได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่พัฒนางานเขียนของตนเองอยู่ตลอดเวลา เนื้อหาของผลงานจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม จากจุดเริ่มต้นของงานเขียนในแนวรักใคร่ พัฒนามาสู่การหยิบยกปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมาเขียนมากขึ้น จวบจนระยะเวลากว่า 50 ปีแล้วที่เธอได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงก้าวตามความฝันต่อไปอย่างไม่ยอมหยุดยั้ง…จนมีผู้กล่าวไว้ว่าเส้นทางฝันของ กฤษณา อโศกสิน เพียงแค่จุดที่ยืนอยู่ในปัจจุบัน นักเขียนน้อยคนนักก็ยากที่จะก้าวมาถึงได้…
สุกัญญา ชลศึกษ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนราชินี เริ่มต้นการประพันธ์ด้วยวัยเพียง 15 ปี เธอมุ่งมั่นจะเป็นนักเขียน มีผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรก 'ของขวัญปีใหม่' ลงในหนังสือ 'ไทยใหม่วันจันทร์' ในนามปากกาว่า 'กัญญ์ชลา' ประมาณปี 2489 หลังจากจบการศึกษา ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่เสมียน กรมประมง กระทรวงเกษตรฯ รับเงินเดือน 450 บาท แต่ทว่ายังมุ่งมั่นที่จะเป็นนักเขียนต่อไป มีผลงานเรื่องสั้นลงตีพิมพ์ในนิตยสาร 'ศรีสัปดาห์' และทยอยลงตีพิมพ์ออกมาเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าร้อยเรื่อง ในขณะที่นวนิยายของเธอก็เริ่มมีออกมา ไม่ว่าจะเป็น หยาดน้ำค้าง, ดอกหญ้า, ดวงตาสวรรค์ ในปี 2545 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำหรับนามปากกา 'กฤษณา อโศกสิน' นั้นเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2501 ด้วยผลงานนวนิยายชื่อว่า 'วิหคที่หลงทาง' ตีพิมพ์ใน 'สตรีสาร' และได้รับการต้อนรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี เธอเคยกล่าวถึงที่มาของนามนี้ว่า "ชื่อนี้นี่ประหลาด มันแว่บขึ้นมาในสมอง ในขณะที่นั่งคิดว่าจะใช้นามปากกาอะไร...เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ แปลออกมาได้ความว่า ไม้หอม ทรัพย์ที่ปราศจากทุกข์..." นามปากกานี้สร้างผลงานออกมาอย่างมากมาย เช่น น้ำผึ้งขม, ระฆังวงเดือน, ชลธีพิศวาส และอีกมากมายกว่าหนึ่งร้อยเรื่อง รวมทั้ง 'ปูนปิดทอง' ที่ทำให้เธอกลายเป็นนักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมอาเซียน (ซีไรท์) ผลงานของกฤษณา อโศกสิน ได้รับการชื่นชมว่าเป็นงานเขียนกระเทาะเปลือกสังคมได้อย่างสะใจ ไม่ว่าจะเป็น ลานลูกไม้, ไฟทะเล, เสื้อสีฝุ่น, รอบรวงข้าว, เรือมนุษย์, ลมที่เปลี่ยนทาง, ฝันหลงฤดู, บุษบกใบไม้ ฯลฯ
ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2520 เป็นช่วง 10 ปีนั้นที่ สุกัญญา ชลศึกษ์ ทำงานมาก เขียนหลายแห่ง ส่วนมากเป็นรายสัปดาห์เช่น แม่ศรีเรือน, นพเก้า, ศรีสยาม, ดวงดาว เป็นรายสัปดาห์ทั้งนั้น เขียนวันละหนึ่งเรื่อง วันละหนึ่งตอนต่อหนึ่งเรื่อง
สุกัญญา ชลศึกษ์ ทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า จนกระทั่งบางวันอาจจะเขียนจนถึง 6 โมงเย็นจึงจะเลิกงาน พอขึ้นข้างบนแล้วก็ต้องทำงานต่อ แต่จะเป็นงานตรวจต้นฉบับ
มีผลงานหลายเรื่องนำไปสร้างละครและภาพยนตร์มากมาย เช่น "เรือมนุษย์" "ดวงตาสวรรค์" ฝันกลางฤดุฝน" "น้ำผึ้งขม" เมียหลวง" "ไฟหนาว" "เสื้อสีฝุ่น" "ข้ามสีทันดร" "หน้าต่างบานแรก" "คาวน้ำค้าง" "เนื้อนาง" "ลายหงส์" "ปีกทอง" และก็เรื่อง "ปูนปิดทอง" "ห้องที่จัดไม่เสร็จ"